รู้จักภัยคุกคาม Insider Threat 

Insider Threat คืออะไร?

Insider Threat คือ ภัยคุกคามที่เกิดจากบุคคลภายในองค์กร ซึ่งอาจเป็นพนักงาน คู่ค้า ผู้รับเหมา หรือบุคคลอื่นที่มีสิทธิ์เข้าถึงทรัพยากรหรือข้อมูลสำคัญขององค์กร โดยบุคคลเหล่านี้อาจกระทำการอันตรายโดยเจตนาหรือไม่เจตนา เช่น การขโมยข้อมูล, การก่อวินาศกรรมระบบ หรือ ขายความลับขององค์กร ส่วนในกรณีที่มาจากความผิดพลาด เช่น คลิกลิงก์ฟิชชิ่ง หรือการทำให้ข้อมูลรั่วไหลโดยไม่ได้ตั้งใจ

ประเภทของ Insider Threat

ภัยคุกคามจากภายในสามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภทหลัก

  1. Malicious Insider (ภัยคุกคามเจตนาร้าย)
    พนักงานหรือบุคคลที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลแต่ใช้สิทธินั้นในทางที่ผิด เช่น ขายข้อมูลสำคัญให้คู่แข่ง หรือขายให้แก๊งคอลเซนเตอร์
  2. Negligent Insider (ภัยคุกคามจากความประมาท)
    ผู้ใช้งานที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดอันตราย เช่น การตั้งรหัสผ่านที่ไม่รัดกุม หรือแชร์ข้อมูลสำคัญโดยไม่ระวัง จนเปิดช่องโหว่ให้ถูกโจมตีได้ง่ายขึ้น 
  3. Compromised Insider (ภัยคุกคามจากการถูกโจมตี)
    บุคคลภายในที่บัญชีหรือสิทธิ์ถูกแฮ็กและถูกใช้งานโดยผู้ไม่หวังดี
  4. Collusive threats (ภัยคุกคามจากการสมรู้ร่วมคิด) ภัยคุกคามเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลภายในร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก เช่น คู่แข่งหรือแฮกเกอร์ ร่วมกันขโมยข้อมูลขององค์กร หรืออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสิทธิ์ในองค์กรโดยไม่ได้รับอนุญาต
  5. Opportunistic insider threats (ภัยคุกคามจากการฉวยโอกาสจากภายใน) เกิดจากบุคคลในองค์กรที่ไม่มีเจตนาร้ายในตอนแรก แต่พวกเขาอาจกักตุนข้อมูลที่ละเอียดอ่อนไว้ ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งและเลือกที่จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ เพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือเพื่อการแก้แค้น
  6. Accidental insider threats (ภัยคุกคามจากบุคคลภายในที่เกิดจากความผิดพลาด) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจอย่างแท้จริง ซึ่งบุคคลภายในทำให้ข้อมูลรั่วไหลจากความผิดพลาดอย่างแท้จริง เช่น การส่งไฟล์ผิดไปยังผู้รับที่ไม่ถูกต้อง หรือการตั้งค่าฐานข้อมูลผิดพลาด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความผิดพลาดของมนุษย์โดยไม่มีเจตนาที่ซ่อนเร้น

ตัวอย่างเหตุการณ์ Insider Threat ที่มีชื่อเสียง

  • Edward Snowden (2013)
    อดีตเจ้าหน้าที่ของ NSA เปิดเผยข้อมูลลับของรัฐบาลสหรัฐฯ สร้างผลกระทบไปทั่วโลก
  • Waymo vs. Uber (2017)
    กรณีอดีตพนักงานของ Waymo ขโมยข้อมูลเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับไปให้กับ Uber
  • บริษัท Hytera Communications ผู้ผลิตอุปกรณ์รับส่งสัญญาณวิทยุของจีน รับสารภาพต่อศาลสหรัฐฯ เมื่อวันอังคาร (14 ม.ค.) ในข้อกล่าวหาว่าบริษัท อดีตผู้บริหาร และพนักงานอื่น ๆ รวม 7 ราย ได้ทำการสมคบคิดกันขโมยข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้าของ Motorola Solutions และนำข้อมูลนั้นไปใช้

องค์กรแบบไหนเสี่ยงบ้าง 

แท้จริงแล้วแทบทุกองค์กรมีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีแบบ Insider Threat โดยองค์กรส่วนใหญ่ที่ถูกโจมตีในลักษณะนี้ เช่น 

  • ผู้บริการทางการเงิน
  • โทรคมนาคม
  • บริการทางเทคนิค
  • ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ
  • รัฐบาล

วิธีป้องกัน Insider Threat

การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล (Access Control)

  • ใช้หลักการ Least Privilege ให้สิทธิ์เข้าถึงเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต่อหน้าที่งาน
  • ใช้ Multi-Factor Authentication (MFA) เพื่อเสริมความปลอดภัย

การใช้นโยบายและการบังคับใช้ (Policy and Enforcement)

  • กำหนดนโยบายการรักษาความปลอดภัยข้อมูล (Information Security Policy) โดยกำหนดแนวปฏิบัติและข้อห้ามเกี่ยวกับการเข้าถึงและใช้งานข้อมูล
  • ใช้นโยบาย Zero Trust โดยต้องมีการตรวจสอบผู้ใช้งานและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนเข้าถึงข้อมูลทุกครั้ง
  • การกำหนดมาตรการลงโทษ (Enforcement Mechanisms) ระบุบทลงโทษสำหรับการละเมิดนโยบาย เพื่อป้องกันพฤติกรรมที่อาจเสี่ยงต่อความปลอดภัย
  • Data Loss Prevention (DLP) ใช้เครื่องมือป้องกันข้อมูลรั่วไหล เช่น การบล็อกการส่งข้อมูลสำคัญผ่านอีเมลหรือ USB

การตรวจสอบและเฝ้าระวัง (Monitoring and Surveillance)

  • ใช้ระบบตรวจจับภัยคุกคาม (Threat Detection Systems)
  • ใช้เครื่องมือวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้งาน (User Behavior Analytics – UBA)

การฝึกอบรมและสร้างความตระหนัก (Training and Awareness)

  • สร้างความตระหนักรู้ในเรื่องความปลอดภัยให้พนักงาน
  • ฝึกอบรมเกี่ยวกับความเสี่ยงและการจัดการข้อมูลขององค์กร

เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ช่วยป้องกัน Insider Threat

  • Data Loss Prevention (DLP)  ช่วยตรวจจับและป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล
  • SIEM (Security Information and Event Management)  รวบรวมข้อมูลเหตุการณ์เพื่อวิเคราะห์ภัยคุกคาม
  • Endpoint Detection and Response (EDR)  เฝ้าระวังพฤติกรรมที่ผิดปกติบนอุปกรณ์ปลายทาง
  • ศูนย์ปฏิบัติการณ์ CSOC ( Cyber Security Operations Center) เฝ้าระวังภัยคุกคาม 

สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์ “OneFence”

Tel. : 061-462-6414, 02-103-6462
Line : @securitypitch
Email : [email protected]

บทความที่น่าสนใจ