คลายข้อสงสัย การทำ PDPA เป็นหน้าที่ของใคร

คลายข้อสงสัย การทำ PDPA เป็นหน้าที่ของใคร

อีกเพียง 1 สัปดาห์ ก็จะครบรอบ 1 ปี ของการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุลคล พ.ศ.2562 หรือ PDPA แล้ว ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา หลายองค์กรได้เริ่มเคลื่อนไหวปรับเปลี่ยนการทำงานให้สอดคล้องกับกฎหมาย ขณะเดียวกันก็มีอีกหลายองค์กรที่ยังมองข้าม เพียงเพราะไม่รู้ว่าเป็นหน้าที่ของใคร Security Pitch พาไปทำความเข้าใจ ถึงความสำคัญของการทำ PDPA และใครบ้างคือผู้รับผิดชอบในส่วนนี้  PDPA หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายที่ถูกบัญญัติขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคาร อีเมล ลายนิ้วมือ รวมไปถึงข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนของบุคคล เช่น ความเชื่อ รสนิยมทางเพศ ข้อมูลสุขภาพ…

ISO 27001 มาตรฐานความปลอดภัยทางสารสนเทศที่จำเป็นต่อองค์กร

ในยุคที่กระแสข้อมูลไหลเวียนได้อย่างอิสระ และผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย องค์กรทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับข้อมูล โดยได้กำหนดนโยบาย หรือมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และระบบสารสนเทศที่รัดกุม ให้สอดคล้องกับกฎหมาย ไม่เพียงเท่านั้น หากมาตรการที่มียังต้องได้รับมาตรฐานระดับสากล เพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่า องค์กรนั้น ๆ มีมาตรการด้านความปลอดภัยที่ไว้วางใจได้อย่างแท้จริง ซึ่งปัจจุบัน ISO 27001 ถือเป็นหนึ่งในมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับ กำหนดขึ้นเพื่อใช้กับระบบบริหารความปลอดภัยของข้อมูล (Security Management Systems, ISMS) ที่ยึดโยงข้อมูลจาก BS 7799 หรือ British Standard 7799) ซึ่งเป็นมาตรฐานเกี่ยวกับการจัดการความปลอดภัยของข้อมูล ที่ออกโดย British Standards Institution เมื่อปี 1995 วัตถุประสงค์ของ ISO 27001 คืออะไร…

 5 เหตุการณ์ใหญ่ในประเทศไทย กระทบข้อมูลส่วนบุคคล

5 เหตุการณ์ใหญ่ในประเทศไทย กระทบข้อมูลส่วนบุคคล

หลังจากประเทศในแถบยุโรปได้มีการนำกฎหมาย GDPR มาใช้เพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัว และข้อมูลส่วนบุคคลของประชากรในสหภาพยุโรป หลายประเทศก็เริ่มตื่นตัว และมีการออกกฎหมายมารองรับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และแม้จะมีมาตรการรองรับ แต่ขณะเดียวกันภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อข้อมูลก็ยังเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในประเทศไทยเองก็หนีไม่พ้น ที่ผ่านมาเคยเกิดเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลกระทบเป็นวงกว้าง Security Pitch จะพาไปดูกันว่า ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ใดบ้างที่ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล 1. ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า 3BB และช่อง MONO รั่วไหลกว่า 8 ล้านราย เริ่มต้นกันที่เหตุการณ์การรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้ากว่า 8 ล้านราย ของบริษัทในกลุ่ม Jasmine International ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ 3BB ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และช่อง MONO เมื่อปี 2021 ซึ่งทางแฮ็กเกอร์ได้มีการเรียกร้องให้จ่ายค่าไถ่กว่า 550,000…

 ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล จากภาครัฐ ผิด PDPA อย่างไร ร้องเรียนอย่างไรบ้าง ?

ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล จากภาครัฐ ผิด PDPA อย่างไร ร้องเรียนอย่างไรบ้าง ?

หน่วยงานภาครัฐประมาทเลินเล่อจนทำให้ ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล และมีผู้ไม่หวังดีนำไปใช้ในทางมิชอบ ผิดกฎหมาย PDPA อย่างไร? และเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะมีขั้นตอนอย่างไรในการฟ้องร้อง หรือร้องเรียนกับใครได้บ้าง? สืบเนื่องจากเหตุการณ์ข้อมูลส่วนบุคคลของคนไทยกว่า 55 ล้านคนเกิดการรั่วไหล จากฝีมือการแฮ็กของแฮ็กเกอร์นาม 9Near ที่ขโมยข้อมูลส่วนบุคคลไปขายบนดาร์กเว็บ และมีการข่มขู่ผ่านสื่อมวลชนว่าหากไม่จ่ายค่าไถ่ข้อมูลจะทำการปล่อยข้อมูลออกไป อาจทำให้ผู้ที่มีความกังวลกลัวว่าข้อมูลส่วนบุคคลของตนจะรั่วไหลโดยคิดว่าเมื่อภาครัฐเป็นผู้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลเสียเองจะมีความผิดหรือไม่ และผิดอย่างไร? แล้วจะสามารถฟ้องร้องเพื่อให้ชดเชยความเสียหายได้หรือไม่ ครั้งนี้ Security Pitch จะพาไปทำความเข้าใจในเรื่องข้อกฎหมาย PDPA ที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น ข่าวที่เกี่ยวข้อง – กระแสสังคมจ่อฟ้อง PDPA เอาผิดหน่วยงานหลังแฮ็กเกอร์ขู่ แฉ ข้อมูลส่วนบุคคล คนไทย 55 ล้านคน ก่อนที่จะทราบว่าการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลนั้นจะผิดตามกฎหมายอย่างไร ก็อาจต้องทำความเข้าใจว่า ไม่ว่าข้อมูลส่วนบุคคลแบบใดรั่วไหลออกไปยังสาธารณะ หรือมีการนำไปใช้ในทางมิชอบ และผิดวัตถุประสงค์ องค์กรนั้น…

 หากมิจฉาชีพได้ ข้อมูลส่วนบุคคล ของเราไป อาจเสี่ยงถึงขั้นเงินหายหมดบัญชี !

หากมิจฉาชีพได้ ข้อมูลส่วนบุคคล ของเราไป อาจเสี่ยงถึงขั้นเงินหายหมดบัญชี !

แค่ ข้อมูลส่วนบุคคล รั่วไหลก็แย่แล้ว หากข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้ตกไปอยู่ในมือมิจฉาชีพอีก ก็ยิ่งเสี่ยง จนอาจเป็นภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน แต่จะป้องกันอย่างไร? ไม่ให้ข้อมูลถูกนำไปใช้ในทางมิชอบ ปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นความประมาทเลินเล่อของตัวบุคคล หรือเกิดจากช่องโหว่ของระบบเครือข่ายที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล ทำให้แฮ็กเกอร์ และมิจฉาชีพสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้ ดังเช่นเหตุการณ์ล่าสุดที่กลายเป็นกระแสไปทั่วประเทศ เมื่อมีการเปิดเผยว่ามีข้อมูลส่วนบุคคลของคนไทยกว่า 55 ล้านคน ถูกแฮ็กเกอร์ขโมยออกไปขายในดาร์กเว็บ และยังได้มีการข่มขู่ว่าหากไม่ได้เงินสกุลดิจิทัลจากภาครัฐ เป็นค่าไถ่ข้อมูล จะทำการปล่อยข้อมูลทั้งหมดเพื่อเป็นการตอบโต้ อ่านเพิ่มเติม – กระแสสังคมจ่อฟ้อง PDPA เอาผิดหน่วยงานหลังแฮ็กเกอร์ขู่ แฉ ข้อมูลส่วนบุคคล คนไทย 55 ล้านคน จากเหตุการณ์ดังกล่าวได้สร้างความกังวลใจให้กับผู้คนอยู่ไม่น้อย เพราะการรั่วไหลของข้อมูลดังกล่าว ไม่ใช่แค่การถูกนำข้อมูลส่วนบุคคลที่ควรเป็นความลับมาเปิดเผย แต่ยังเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ได้ โดยเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคล อย่าง เบอร์โทรศัพท์ รหัสประจำตัวประชาชน…

 กระแสสังคมจ่อฟ้อง PDPA เอาผิดหน่วยงานหลังแฮ็กเกอร์ขู่ แฉ ข้อมูลส่วนบุคคล คนไทย 55 ล้านคน

กระแสสังคมจ่อฟ้อง PDPA เอาผิดหน่วยงานหลังแฮ็กเกอร์ขู่ แฉ ข้อมูลส่วนบุคคล คนไทย 55 ล้านคน

ชาวโซเชียลเดือด! จ่อเอาผิดหน่วยงานรัฐ หลังแฮ็กเกอร์ออกโรงขู่ว่าจะแฉ ข้อมูลส่วนบุคคล ของคนไทยกว่า 55 ล้านคน งานนี้นักข่าวชื่อดังอย่างคุณสรยุทธ เจอกับตัวเข้าเต็ม ๆ กลับมาเป็นกระแสสังคมอีกครั้ง หลังจากที่คุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา ผู้ประกาศข่าวดัง ได้ออกมาโพสต์โซเชียลแจ้งข่าวว่า มีข้อความส่งมาหาตน โดยสามารถระบุข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้องทุกอย่าง จนตัวเองยังตกใจ ไม่เพียงเท่านั้น คุณชูวัส ฤกษ์ศิริสุข พิธีกรรายการ Wake Up Thailand ก็ได้ออกมาเสริมอีกด้วยว่าตนเองก็ประสบเหตุการณ์แบบนี้ด้วยเช่นกัน สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้บรรดาชาวโซเชียลออกมาแสดงความคิดเห็นกันเป็นจำนวนมาก โดยต่างให้ความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า รู้สึกกังวลใจเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวของตัวเอง และจี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาแสดงความรับผิดชอบในเหตุการณ์ครั้งนี้ ทั้งนี้เหตุการณ์ข้อมูลส่วนบุคคลคนไทยกว่า 55 ล้านคนรั่วไหล เกิดขึ้นมาตั้งแต่กลางเดือนที่ผ่านมา ด้วยฝีมือของแฮ็กเกอร์ที่ใช้ชื่อว่า 9Near ซึ่งข้อมูลที่ถูกแฮ็กนั้นประกอบด้วย ชื่อสกุล เบอร์โทร เลขประจำตัวประชาชน…

 สคส. เปิดกรณีศึกษาเกี่ยวกับการใช้กฎหมาย PDPA สำหรับ DPO

สคส. เปิดกรณีศึกษาเกี่ยวกับการใช้กฎหมาย PDPA สำหรับ DPO

#PDPAKnowledge | สคส. เปิดกรณีศึกษาเกี่ยวกับการใช้กฎหมาย PDPA สำหรับ DPO  สคส. เผยแพร่เอกสารแนวปฎิบัติสำหรับผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) และผู้ประมวลข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมาย PDPA เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ดำเนินการภายใต้การควบคุมดูแลของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้เผยแพร่เอกสารแนวปฏิบัติ จากกรณีศึกษาที่มาจากการหารือเกี่ยวกับการบังคับใช้ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล และผู้ประมวลข้อมูลส่วนบุคคลในทุกองค์กร สามารถปฎิบัติได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และเพื่อลดความสับสนหากเกิดกรณีละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลขึ้น ทั้งนี้เอกสารเผยแพร่ดังกล่าวประกอบไปด้วยแนวปฎิบัติ 4 หมวด ได้แก่ หมวดที่ 1 – ขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย รวบรวมประเด็นการหารือเรื่อง ขอบเขตการบังคับใช้ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล…

 อ่วมอีกแล้ว ! Meta ถูกปรับอีกครั้ง ละเมิดกฎ GDPR

อ่วมอีกแล้ว ! Meta ถูกปรับอีกครั้ง ละเมิดกฎ GDPR

#PDPACase | อ่วมอีกแล้ว ! Meta ถูกปรับอีกครั้ง ละเมิดกฎ GDPR ! Meta พบกับศึกหนักอีกครั้ง หลังถูกตัดสินให้มีความผิดฐานละเมิดกฎหมาย GDPR และถูกปรับสูงกว่า 275 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ดูเหมือนว่าวิกฤตของ Meta ที่เกี่ยวกับด้านการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลจะยังไม่จบลงโดยง่าย เพราะล่าสุด คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลของสหภาพยุโรปได้มีการตัดสินให้บริษัท Meta ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในประเทศไอร์แลนด์ มีความผิดฐานละเมิดกฎหมาย GDPR และถูกปรับสูงถึง 275 ล้านเหรียญสหรัฐฯ พร้อมเงื่อนไขให้บริษัทปรับเปลี่ยนนโยบายด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ จากการสืบสวนของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลของสหภาพยุโรป ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามกฏหมาย GDPR หลังจากค้นพบการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลในเดือนเมษายน 2021 ล่าสุดได้มีการรายงานว่า Facebook ที่อยู่ภายใต้บริษัท Meta ได้มีการละเมิดกฎหมาย GDPR…

 5 เช็กลิสต์สำคัญเกี่ยวกับ PDPA ที่เจ้าของเว็บไซต์ต้องรู้!

5 เช็กลิสต์สำคัญเกี่ยวกับ PDPA ที่เจ้าของเว็บไซต์ต้องรู้!

#PDPAKnowledge | 5 เช็กลิสต์สำคัญเกี่ยวกับ PDPA ที่เจ้าของเว็บไซต์ต้องรู้! กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ pdpa  ได้มีผลบังคับใช้มาแล้วระยะหนึ่ง ซึ่งหลังจากการบังคับใช้แล้ว ทำให้หลาย ๆ เว็บไซต์เริ่มมีการตื่นตัว และปรับเปลี่ยนให้ถูกต้องตามที่กฎหมายระบุกันมากขึ้น แต่ก็ยังมีเจ้าของเว็บไซต์บางส่วนที่ยังไม่เข้าใจว่า จะต้องจัดการกับเว็บไซต์อย่างไรเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย PDPA วันนี้ OneFence เลยขอนำเอาเช็กลิสต์ที่ เจ้าของเว็บไซต์ควรรู้ และควรทำเพื่อให้เว็บไซต์ของคุณปฏิบัติถูกต้องตาม PDPA มาฝาก 1. เว็บไซต์ต้องมีความปลอดภัย เนื่องจากเมื่อเข้าใช้งานเว็บไซต์ จะมีคุกกี้คอยเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ที่ต้องมีการขอความยินยอมโดยชัดแจ้ง ดังนั้นทางเว็บไซต์จึงต้องมีการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวอย่างปลอดภัย และป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลได้ นอกจากนี้ยังควรมีมาตรการรองรับการถูกโจมตีทางไซเบอร์อีกด้วย 2. วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลบนเว็บไซต์ หากเว็บไซต์ของคุณมีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปหรือข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว สิ่งสำคัญที่คุณต้องทราบคือ วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บข้อมูลว่าจัดเก็บไว้เพื่ออะไร มีระยะเวลาในการจัดเก็บนานแค่ไหน อีกทั้งยังต้องทราบด้วยว่าข้อมูลดังกล่าวจะมีการโอนไปยังบุคคลที่สามหรือไม่…

 ระวัง ! สั่งเปิดกล้องระหว่างทำงาน อาจละเมิดความเป็นส่วนตัว

ระวัง ! สั่งเปิดกล้องระหว่างทำงาน อาจละเมิดความเป็นส่วนตัว

#PDPACase | สั่งให้พนักงานเปิดกล้องระหว่างทำงาน อาจเสี่ยงละเมิดความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่นโดยไม่รู้ตัว เป็นอีกหนึ่งกรณีที่น่าสนใจ เมื่อศาลเนเธอร์แลนด์ตัดสินให้พนักงานทางไกลของบริษัทสหรัฐฯ ซึ่งโดนไล่ออกเพราะเขาปฏิเสธ ไม่ยอมเปิดกล้องคอมพิวเตอร์ระหว่างทำงาน ได้รับเงินชดเชยราว 75,000 ยูโร หรือประมาณ 2.7 ล้านบาท จากบริษัท โดยถือว่าเป็นการไล่ออกที่ไม่สมเหตุผลและละเมิดความเป็นส่วนตัวของพนักงาน จากรายงานข่าวระบุว่า อดีตพนักงานคนดังกล่าวได้ทำงานให้บริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์แห่งหนึ่งในรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ชื่อว่า Chetu Inc. สาขาประจำเมืองไรส์ไวก์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ อยู่ในตำแหน่งพนักงานขายทางโทรศัพท์ ซึ่งสามารถทำงานจากทางไกลได้โดยไม่ต้องเข้าบริษัท ซึ่งก่อนที่จะโดนไล่ออก เขาได้รับคำสั่งให้เข้าร่วมการอบรมพนักงานในโครงการประเมินและแก้ไขจุดบกพร่อง (Corrective Action Program) ซึ่งเขาจะต้องล็อกอินเข้าระบบของบริษัท รวมทั้งแชร์ภาพหน้าจอคอมพิวเตอร์และเปิดกล้องคอมพิวเตอร์ตลอดเวลาทำงานในระหว่างเข้าโครงการ หลังจากนั้น 2 วัน เขาได้แจ้งทางบริษัทว่า รู้สึกอึดอัดที่โดนจับตามองผ่านกล้องตลอดเวลา 9 ชม.…