หากมิจฉาชีพได้ ข้อมูลส่วนบุคคล ของเราไป อาจเสี่ยงถึงขั้นเงินหายหมดบัญชี !

หากมิจฉาชีพได้ ข้อมูลส่วนบุคคล ของเราไป อาจเสี่ยงถึงขั้นเงินหายหมดบัญชี !

แค่ ข้อมูลส่วนบุคคล รั่วไหลก็แย่แล้ว หากข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้ตกไปอยู่ในมือมิจฉาชีพอีก ก็ยิ่งเสี่ยง จนอาจเป็นภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน แต่จะป้องกันอย่างไร? ไม่ให้ข้อมูลถูกนำไปใช้ในทางมิชอบ ปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นความประมาทเลินเล่อของตัวบุคคล หรือเกิดจากช่องโหว่ของระบบเครือข่ายที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล ทำให้แฮ็กเกอร์ และมิจฉาชีพสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้ ดังเช่นเหตุการณ์ล่าสุดที่กลายเป็นกระแสไปทั่วประเทศ เมื่อมีการเปิดเผยว่ามีข้อมูลส่วนบุคคลของคนไทยกว่า 55 ล้านคน ถูกแฮ็กเกอร์ขโมยออกไปขายในดาร์กเว็บ และยังได้มีการข่มขู่ว่าหากไม่ได้เงินสกุลดิจิทัลจากภาครัฐ เป็นค่าไถ่ข้อมูล จะทำการปล่อยข้อมูลทั้งหมดเพื่อเป็นการตอบโต้ อ่านเพิ่มเติม – กระแสสังคมจ่อฟ้อง PDPA เอาผิดหน่วยงานหลังแฮ็กเกอร์ขู่ แฉ ข้อมูลส่วนบุคคล คนไทย 55 ล้านคน จากเหตุการณ์ดังกล่าวได้สร้างความกังวลใจให้กับผู้คนอยู่ไม่น้อย เพราะการรั่วไหลของข้อมูลดังกล่าว ไม่ใช่แค่การถูกนำข้อมูลส่วนบุคคลที่ควรเป็นความลับมาเปิดเผย แต่ยังเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ได้ โดยเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคล อย่าง เบอร์โทรศัพท์ รหัสประจำตัวประชาชน…

 ย้อนไทม์ไลน์ 7 เดือนหลังประกาศบังคับใช้ กฎหมาย PDPA

ย้อนไทม์ไลน์ 7 เดือนหลังประกาศบังคับใช้ กฎหมาย PDPA

#PDPACase | ย้อนไทม์ไลน์ 7 เดือนหลังประกาศบังคับใช้ กฎหมาย PDPA เป็นเวลากว่า 7 เดือนแล้ว ที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 อันเป็นกฎหมายที่ให้ความสำคัญกับสิทธิส่วนบุคคลมีผลบังคับใช้ ถือเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้หน่วยงาน องค์กร ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเกิดการตื่นตัว มีการปรับเปลี่ยนการทำงานในองค์กรให้สอดคล้องกับกฎหมายมากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีการออกกฎหมายลูกมาเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างราบรื่น เราจะมาดูกันว่าตลอดกว่า 7 เดือนที่ผ่านมา การบังคับใช้ กฎหมาย PDPA เป็นอย่างไรบ้าง 1 มิถุนายน พ.ศ.2565 – บังคับใช้กฎหมาย PDPA  หลังการประกาศใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในปี พ.ศ.2562 ให้มีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายน ปี 2563 ได้มีการเลื่อนวันบังคับใช้เนื่องจากความไม่พร้อมของหน่วยงาน และสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 กระทั่งมีการบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1…

 Google ถูกฟ้อง ! หลังจัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์โดยไม่ได้รับความยินยอม

Google ถูกฟ้อง ! หลังจัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์โดยไม่ได้รับความยินยอม

#PDPACase | Google ถูกฟ้อง ! หลังจัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์โดยไม่ได้รับความยินยอม Google ส่อโดนปรับอ่วม หลังอัยการสูงสุดแห่งรัฐเท็กซัสยื่นฟ้อง Google ในกรณีจัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์ (Biometric Data) ของชาวเท็กซัสกว่าล้านคน โดยไม่ได้รับยินยอมอย่างถูกต้อง เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2022 ที่ผ่านมา เว็บไซต์ BeepingComputer รายงานว่า อัยการสูงสุดรัฐเท็กซัส Ken Paxton ได้มีการยื่นฟ้อง Google โดยกล่าวหาว่า Google ได้ใช้ผลิตภัณฑ์อย่าง Google Photo, Google Assistant และ Nest Hub Max เพื่อรวบรวมข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล…

 Hybrid Working อย่างไรให้ ข้อมูลส่วนตัว ปลอดภัย

Hybrid Working อย่างไรให้ ข้อมูลส่วนตัว ปลอดภัย

#PDPAKnowledge | Hybrid Working อย่างไรให้ ข้อมูลส่วนตัว ปลอดภัย หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เริ่มคลี่คลาย หลาย ๆ องค์กรก็เริ่มให้พนักงานกลับเข้าไปทำงาน On-site มากขึ้น แต่ก็มีอีกไม่น้อยที่ตัดสินใจปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้สามารถทำงานจากที่บ้าน หรือจากที่ไหนก็ได้ เพื่อลดค่าใช้จ่าย อีกทั้งในช่วงการแพร่ระบาดนั้นได้แสดงให้เห็นว่า การทำงานแบบ Remote ให้ผลลัพธ์ที่ดีไม่ต่างจากการทำงานที่ออฟฟิศ แต่ทราบกันหรือไม่ว่าการทำงาน Hybrid Working ที่แสนจะสะดวกสบายนั้นก็อาจสร้างความเสี่ยงที่เราคาดไม่ถึงได้ เช่น ข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการทำงาน ซึ่งรั่วไหลออกไปโดยที่เราไม่รู้ตัว ปัญหาข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลที่เกี่ยวกับการทำงานรั่วไหลจากการปฏิบัติหน้าที่ภายนอกที่ทำงาน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะกับผู้ที่ใช้บริการร้านกาแฟ หรือพื้นที่สาธารณะในการนั่งทำงาน และมีการเข้าใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เป็นเครือข่ายสาธารณะ เพราะเครือข่ายเหล่านี้ไม่ว่าใครก็สามารถเข้าถึงได้ จึงอาจทำให้มิจฉาชีพใช้โอกาสนี้ในการเจาะเข้าระบบของผู้ใช้งาน…