ขโมยตัวตน (Identity Theft) อาจอยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด

ขโมยตัวตน (Identity Theft) อาจอยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด

#PDPAKnowledge | ระวัง ! การขโมยตัวตน (Identity Theft) อาจอยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด ปัจจุบันการหลอกลวงบนโลกออนไลน์เกิดได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทั้งต่อกายและใจ หรือทำให้สูญเสียทรัพย์สินเงินทอง ซึ่งก็มีหลาย ๆ กรณีที่เริ่มต้นจากการขโมยข้อมูล โดยเฉพาะการ ขโมยตัวตน (Identity Theft) แต่เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า Identity Theft คือใคร และเราจะป้องกันอย่างไรไม่ให้ถูกนำข้อมูลส่วนบุคคลของเราไปใช้ในทางที่ผิดได้บ้าง OneFence มีคำตอบมาฝาก Identity Theft หรือการ ขโมยตัวตน เป็นหนึ่งในการจารกรรมข้อมูลส่วนตัวที่เกิดขึ้นได้จากหลาย ๆ สาเหตุ โดยเมื่อถูกขโมยข้อมูลส่วนตัวไปแล้ว มิจฉาชีพก็จะนำข้อมูลส่วนตัวที่ได้ มาแอบอ้าง หรือปลอมแปลงเป็นเจ้าของข้อมูล เพื่อไปหลอกลวงบุคคลใกล้ชิด หรือบุคคลอื่น ๆ…

 Hybrid Working อย่างไรให้ ข้อมูลส่วนตัว ปลอดภัย

Hybrid Working อย่างไรให้ ข้อมูลส่วนตัว ปลอดภัย

#PDPAKnowledge | Hybrid Working อย่างไรให้ ข้อมูลส่วนตัว ปลอดภัย หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เริ่มคลี่คลาย หลาย ๆ องค์กรก็เริ่มให้พนักงานกลับเข้าไปทำงาน On-site มากขึ้น แต่ก็มีอีกไม่น้อยที่ตัดสินใจปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้สามารถทำงานจากที่บ้าน หรือจากที่ไหนก็ได้ เพื่อลดค่าใช้จ่าย อีกทั้งในช่วงการแพร่ระบาดนั้นได้แสดงให้เห็นว่า การทำงานแบบ Remote ให้ผลลัพธ์ที่ดีไม่ต่างจากการทำงานที่ออฟฟิศ แต่ทราบกันหรือไม่ว่าการทำงาน Hybrid Working ที่แสนจะสะดวกสบายนั้นก็อาจสร้างความเสี่ยงที่เราคาดไม่ถึงได้ เช่น ข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการทำงาน ซึ่งรั่วไหลออกไปโดยที่เราไม่รู้ตัว ปัญหาข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลที่เกี่ยวกับการทำงานรั่วไหลจากการปฏิบัติหน้าที่ภายนอกที่ทำงาน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะกับผู้ที่ใช้บริการร้านกาแฟ หรือพื้นที่สาธารณะในการนั่งทำงาน และมีการเข้าใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เป็นเครือข่ายสาธารณะ เพราะเครือข่ายเหล่านี้ไม่ว่าใครก็สามารถเข้าถึงได้ จึงอาจทำให้มิจฉาชีพใช้โอกาสนี้ในการเจาะเข้าระบบของผู้ใช้งาน…

 ข้อมูลส่วนตัวรั่ว ต้องรับมืออย่างไร ?

ข้อมูลส่วนตัวรั่ว ต้องรับมืออย่างไร ?

#PDPAKnowledge | ข้อมูลส่วนตัวรั่ว ต้องรับมืออย่างไร ? ไม่มีใครต้องการให้ข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญต้องรั่วไหลไปอยู่ในมือของมิจฉาชีพ หรือถูกเผยแพร์ไปในพื้นที่สาธารณะ แต่การจะป้องกันไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวของตัวเองรั่วไหลก็ไม่ง่าย ส่วนหนึ่งเพราะความจำเป็นในการทำธุรกรรมต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ ฉะนั้นนอกจากจะต้องมีความรอบคอบ เราก็ควรจะรู้ด้วยว่าหากข้อมูลส่วนบุคคลของเราเกิดการรั่วไหลควรจะทำอย่างไร เพื่อที่เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น จะสามารถแก้ปัญหาได้ทัน ลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และนี่คือสิ่งที่ OneFence แนะนำว่า ควรทำอย่างเร่งด่วนหากข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญเกิดการรั่วไหล เมื่อเกิดเหตุการณ์ข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล สิ่งที่แรกที่ควรทำหลังจากรับรู้ก็คือ การตั้งสติ เพราะคนส่วนใหญ่เมื่อทราบว่าข้อมูลสำคัญเกิดการรั่วไหลออกไป โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการเงิน อย่างเช่น ข้อมูลบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีเงินฝาก ก็จะทำให้รู้สึกไม่สบายใจ และวิตกกังวล จากนั้นควรหาต้นทางการรั่วไหล โดยติดต่อกับองค์กร หรือเว็บไซต์ต้นทางที่เกิดการรั่วไหลของข้อมูลโดยทันที จากนั้นจึงทำตามขั้นตอนดังนี้ กรณีเป็นข้อมูลสำคัญทางการเงิน โทรศัพท์ติดต่อธนาคารเจ้าของบัตรเพื่อทำการอายัติบัตร หรือบัญชีนั้น ๆ โดยทันที…

 ระวัง! รักษ์โลก แต่เผลอทำข้อมูลส่วนตัวผู้อื่นรั่วไหล เสี่ยงค่าปรับสูงถึง 5 ล้านบาท !

ระวัง! รักษ์โลก แต่เผลอทำข้อมูลส่วนตัวผู้อื่นรั่วไหล เสี่ยงค่าปรับสูงถึง 5 ล้านบาท !

#PDPAKnowledge | ระวัง! รักษ์โลก แต่เผลอทำข้อมูลส่วนตัวผู้อื่นรั่วไหล เสี่ยงค่าปรับตามกฎหมาย PDPA สูงถึง 5 ล้านบาท ! ไม่ว่าจะเป็นใครก็ล้วนแต่ไม่ต้องการให้ข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลไปยังบุคคลภายนอก แต่ก็มีหลาย ๆ กรณีที่ข้อมูลเกิดรั่วไหลออกไปโดยที่เจ้าของเองไม่ได้ยินยอม เช่นเหตุการณ์ล่าสุดที่มีข้อมูลผู้ป่วยของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรีรั่วไหลจนกลายเป็นข่าวดัง ถึงแม้เจ้าของข้อมูลจะไม่ได้ทำการฟ้องร้อง แต่กรณีนี้ก็ถือเป็นตัวอย่างของเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลที่น่ากังวล และน่าเป็นเคสตัวอย่างที่ทำให้คนหันมาใส่ใจเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลกันมากขึ้น ต้องยอมรับว่าความเสี่ยงที่ข้อมูลส่วนตัวจะรั่วไหลออกไปสู่ภายนอกนั้นยังคงมีอยู่มากในประเทศไทย โดยเฉพาะการรั่วไหลจากเอกสารที่อยู่ในรูปของกระดาษนั้นยังเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ เพราะยังมีหลายหน่วยงานยังใช้เอกสารกระดาษอยู่ และเมื่อใช้งานเสร็จแล้ว หากไม่นำมาหมุนเวียนใช้เป็นกระดาษรียูส ก็มักจะมีการนำไปขายต่อให้ภายนอกเพื่อนำไปทำลาย หรือนำไปรีไซเคิล จุดนี้เองเป็นขั้นตอนที่อาจทำให้ข้อมูลสำคัญรั่วไหลได้ ซึ่งในอดีตอาจไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ในปัจจุบัน กฎหมาย พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ได้ประกาศและบังคับใช้แล้ว การทำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นรั่วไหล ถือเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายทั้งทางแพ่ง และทางอาญา มีค่าปรับสูงถึง 5…