กลางปีนี้ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ PDPA (Personal Data Protection Act) จะถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 กฎหมายดังกล่าวให้ความคุ้มครองในเรื่องของข้อมูลส่วนบุคคล ตั้งแต่ ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคาร อีเมล ไอดีไลน์ บัญชีผู้ใช้ของเว็บไซต์ และลายนิ้วมือ ไปจนถึงประวัติสุขภาพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้นับเป็นข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนไปถึงเจ้าของข้อมูลเหล่านั้นได้ ทำให้หลาย ๆ องค์กรจำต้องจัดทำ Privacy Policy หากคุณทำธุรกิจหรือให้บริการใด ๆ ที่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล จากลูกค้า คู่ค้า พนักงาน หรือแม้แต่ผู้ที่เข้ามาในบริเวณพื้นที่ คุณก็จำเป็นที่จะต้องมี Privacy…
เคยสงสัยไหมว่า…เวลาเราท่องไปในโลกอินเตอร์เน็ต ทำไมบางเว็บไซต์จึงมีการจดจำข้อมูลของเราได้ ไม่ว่าจะเป็นจดจำรหัส หรือข้อมูลการเข้าใช้งาน ไม่เว้นแม้แต่เก็บรายการสั่งซื้อเอาไว้ แม้จะออกจากเว็บไซต์ไปแล้ว โดยเมื่อกลับเข้ามาใช้งานใหม่ ข้อมูลเหล่านั้นก็ยังคงอยู่ สิ่งเหล่านี้เรียกว่า “Cookie” ซึ่งปัจจุบันแทบทุกเว็บไซต์ มักมีฟังก์ชันนี้เพื่อจดจำข้อมูลบางอย่างของผู้ใช้งาน และคอยอำนวยความสะดวกสำหรับการเข้าใช้งานในครั้งถัดไป Cookie บนเว็บไซต์ คืออะไร ? หากนึกถึง คุกกี้ (Cookie) ผมเชื่อว่าหลายคนคงนึกถึง ขนม ของว่างสำหรับทานเล่น ขณะที่ “คุกกี้บนเว็บไซต์” ก็คือไฟล์ข้อมูลขนาดเล็กที่ได้จากการเชื่อมต่อกันระหว่างเว็บไซต์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1994 มีหน้าที่จดจำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งโลเคชั่นของผู้ใช้งาน หรือข้อมูลที่ผู้ใช้งานสนใจ นอกจากนี้ “คุกกี้บนเว็บไซต์” ยังคอยช่วยในเรื่องการทำการตลาด การทำโฆษณาแบบเจาะกลุ่มเป้าหมาย โดยเชื่อมโยงสิ่งที่มีความเกี่ยวข้อง หรือสิ่งที่คาดว่าจะสนใจเข้ากับผู้ใช้งาน รวมไปถึงการจดจำการตั้งค่า และปรับปรุงประสบการณ์ให้กับตัวผู้ใช้งานไปพร้อมกัน…
การบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือที่ใครหลายคนคุ้นเคยในชื่อ PDPA ซึ่งเป็นกฏหมายที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อย่างเต็มรูปแบบคืออีกหนึ่งจุดเปลี่ยนทำให้หลายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล เพราะกฏหมายได้กำหนดให้องค์กรที่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลต้องมีผู้เชี่ยวชาญมาดูแลข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดภายในองค์กร รวมไปถึงกำหนดทิศทางต่าง ๆ ตามที่กฏหมายได้ กำหนดไว้ โดยผู้เชี่ยวชาญนี้จะถูกเรียกว่า DPO แต่เคยสงสัยหรือไม่ว่า DPO คืออะไร และเกี่ยวข้องกับกฏหมาย PDPA อย่างไรบ้าง DPO คืออะไร ? DPO ย่อมาจาก Data Protection Officer หมายถึง เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นผู้มีหน้าที่สำคัญในการจัดการดูแล และตรวจสอบการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง ตรงตามหลักกฎหมาย PDPA อีกทั้งยังเป็นตำแหน่งที่กฎหมาย PDPA กำหนดให้บางองค์กรที่เข้าเกณฑ์นี้ ต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ DPO…