#PDPAKnowledge | PDPA บังคับใช้ ทำให้ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ลดลงได้จริงหรือ? เรียกว่าสารพัดมุกสารพัดวิธี กับเล่ห์เหลี่ยมกลโกงของเหล่ามิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่ทำเอาประชาชนไม่น้อยตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อ จนเสียทรัพย์สินกันไปมากมาย แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ถือเป็นอีกรูปแบบอาชญกรรมทางไซเบอร์ที่สร้างปัญหาให้ประเทศไม่น้อย โดยก่อนหน้านี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยสถิติเมื่อปี 2564 พบว่า มีจำนวนโทรศัพท์หลอกลวงจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ถึง 6.4 ล้านครั้ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ถึง 270% ขณะที่ SMS หลอกลวง เพิ่มขึ้น 57% ด้านผลสำรวจของสวนดุสิตโพล เมื่อเดือน ก.พ. ปี 65 ซึ่งทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 1,221 ตัวอย่าง พบ คนไทยกว่า…
#PDPAKnowledge | รำคาญคุกกี้อยู่หรือเปล่า? เบื่อมั้ยที่ต้องกดยอมรับ รู้ไว้! เพื่อสิทธิของคุณ นับตั้งแต่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ปี 2562 บรรดาองค์กร เจ้าของธุรกิจ และผู้ประกอบการที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง ต่างรีบดำเนินการจัดทำระบบคุกกี้แบนเนอร์เพื่อขอความยินยอม การเก็บข้อมูลของผู้เยี่ยมชมผ่านคุกกี้บนเว็บไซต์ คำถามคือ “แล้วทำไม? ผู้เช้าใช้งานต้องกดยอมรับ” นั่นก็เพราะคุกกี้แต่ละประเภทจะมีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ นามสกุล, อีเมล หรือเบอร์โทรศัพท์ แม้ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นเพียงข้อมูลที่ใช้ในการลงทะเบียน หรือ สมัครสมาชิก แต่เจ้าของเว็บไซต์ก็สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประมวลผล หรือใช้ประโยชน์ในแง่ของการทำการตลาดได้ นี่ยังไม่รวมถึงกรณีที่มีการนำข้อมูลไปเผยแพร่ ส่งต่อ เพื่อประโยชน์ทางการค้า หรือขายให้กับมิจฉาชีพ ซึ่งถือเป็นการละเมิดข้อมูลซึ่งอาจส่งผลเสียขั้นร้ายแรงมาถึงตัวเราที่เป็นเจ้าของข้อมูลได้ ดังนั้นเราในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ควรตระหนักถึงสิทธิของตัวเองเอาไว้ สำหรับเจ้าของเว็บไซต์…
หลังจากประเทศไทยมีการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 อย่างเป็นทางการ เพื่อยกระดับมาตรฐานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้เทียบเท่าสากล จนเกิดกรณีศึกษาขึ้นมาหลายเคส ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส) ได้คลอดกฎหมายลูก ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติ ออกมา 4 ฉบับ วานนี้ (20 มิถุนายน 2565) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศ ข้อกฎหมายลำดับรอง ภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562 หรือ PDPA โดยคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน 4…
ในยุคสมัยที่ข้อมูลถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการขายและการตลาด (Sales and Marketing) ด้านอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทำงานแบบอัตโนมัติ (Automation) จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ข้อมูลส่วนบุคคลถือเป็นสินทรัพย์ที่มีค่า และส่งผลต่อการขับเคลื่อนเทคโนโลยี และเศรษฐกิจของโลกอย่างแท้จริง ดังนั้นก่อนที่จะทำอะไรเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล จึงต้องมีการขอความยินยอมก่อนเสมอ ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึง Universal Consent Management ที่เป็นการบริหารจัดการความยินยอมไว้ในที่เดียว แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้น เรามาทบทวนความรู้ที่เจ้าตัว Cookie Consent กันก่อน Cookie Consent คืออะไร ? Cookie Consent คือ การขอความยินยอมจาก User ในการให้คุกกี้ (Cookie) เก็บข้อมูลและขอใช้ข้อมูลของ User ด้วยจุดประสงค์ต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นการเคารพสิทธิและความเป็นส่วนตัวของ User…
ในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาตรา 30 ได้กล่าวถึงเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้อย่างสั้น ๆ ดังนี้“เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิตามกฎหมายในการจะบริหารจัดการ กับข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองเสมอ” ซึ่งในบทความนี้เราจะมาพูดถึงเจ้าตัว DSAR หรือ Data Subject Access Request และสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามกฎหมาย รวมไปถึงสิ่งที่ต้องทำ หากมีการบังคับใช้ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 PDPA คืออะไร ? “PDPA” ย่อมาจาก Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและสร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย และนำไปใช้อย่างถูกวัตถุประสงค์…
กลางปีนี้ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ PDPA (Personal Data Protection Act) จะถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 กฎหมายดังกล่าวให้ความคุ้มครองในเรื่องของข้อมูลส่วนบุคคล ตั้งแต่ ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคาร อีเมล ไอดีไลน์ บัญชีผู้ใช้ของเว็บไซต์ และลายนิ้วมือ ไปจนถึงประวัติสุขภาพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้นับเป็นข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนไปถึงเจ้าของข้อมูลเหล่านั้นได้ ทำให้หลาย ๆ องค์กรจำต้องจัดทำ Privacy Policy หากคุณทำธุรกิจหรือให้บริการใด ๆ ที่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล จากลูกค้า คู่ค้า พนักงาน หรือแม้แต่ผู้ที่เข้ามาในบริเวณพื้นที่ คุณก็จำเป็นที่จะต้องมี Privacy…
เคยสงสัยไหมว่า…เวลาเราท่องไปในโลกอินเตอร์เน็ต ทำไมบางเว็บไซต์จึงมีการจดจำข้อมูลของเราได้ ไม่ว่าจะเป็นจดจำรหัส หรือข้อมูลการเข้าใช้งาน ไม่เว้นแม้แต่เก็บรายการสั่งซื้อเอาไว้ แม้จะออกจากเว็บไซต์ไปแล้ว โดยเมื่อกลับเข้ามาใช้งานใหม่ ข้อมูลเหล่านั้นก็ยังคงอยู่ สิ่งเหล่านี้เรียกว่า “Cookie” ซึ่งปัจจุบันแทบทุกเว็บไซต์ มักมีฟังก์ชันนี้เพื่อจดจำข้อมูลบางอย่างของผู้ใช้งาน และคอยอำนวยความสะดวกสำหรับการเข้าใช้งานในครั้งถัดไป Cookie บนเว็บไซต์ คืออะไร ? หากนึกถึง คุกกี้ (Cookie) ผมเชื่อว่าหลายคนคงนึกถึง ขนม ของว่างสำหรับทานเล่น ขณะที่ “คุกกี้บนเว็บไซต์” ก็คือไฟล์ข้อมูลขนาดเล็กที่ได้จากการเชื่อมต่อกันระหว่างเว็บไซต์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1994 มีหน้าที่จดจำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งโลเคชั่นของผู้ใช้งาน หรือข้อมูลที่ผู้ใช้งานสนใจ นอกจากนี้ “คุกกี้บนเว็บไซต์” ยังคอยช่วยในเรื่องการทำการตลาด การทำโฆษณาแบบเจาะกลุ่มเป้าหมาย โดยเชื่อมโยงสิ่งที่มีความเกี่ยวข้อง หรือสิ่งที่คาดว่าจะสนใจเข้ากับผู้ใช้งาน รวมไปถึงการจดจำการตั้งค่า และปรับปรุงประสบการณ์ให้กับตัวผู้ใช้งานไปพร้อมกัน…
การบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือที่ใครหลายคนคุ้นเคยในชื่อ PDPA ซึ่งเป็นกฏหมายที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อย่างเต็มรูปแบบคืออีกหนึ่งจุดเปลี่ยนทำให้หลายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล เพราะกฏหมายได้กำหนดให้องค์กรที่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลต้องมีผู้เชี่ยวชาญมาดูแลข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดภายในองค์กร รวมไปถึงกำหนดทิศทางต่าง ๆ ตามที่กฏหมายได้ กำหนดไว้ โดยผู้เชี่ยวชาญนี้จะถูกเรียกว่า DPO แต่เคยสงสัยหรือไม่ว่า DPO คืออะไร และเกี่ยวข้องกับกฏหมาย PDPA อย่างไรบ้าง DPO คืออะไร ? DPO ย่อมาจาก Data Protection Officer หมายถึง เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นผู้มีหน้าที่สำคัญในการจัดการดูแล และตรวจสอบการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง ตรงตามหลักกฎหมาย PDPA อีกทั้งยังเป็นตำแหน่งที่กฎหมาย PDPA กำหนดให้บางองค์กรที่เข้าเกณฑ์นี้ ต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ DPO…